6 วิธีปองกัน ไวรัสโควิด19 (โคโรน่า)

0
533

6 วิธีปองกัน ไวรัสโควิด19 (โคโรน่า)

        วินาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ ไวรัสโควิด19 (Covid-19)” หรือ “ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019” ที่กำลังระบาดหนักอยู่ขณะนี้ กลุ่มไวรัสโคโรน่านั้น ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 ทำให้เกิดไข้หวัดทั่วไป แต่ไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก ล่าสุดพบที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ต่างจากที่เคยเจอมาก่อน มีอาการตั้งแต่เล็กน้อย ปานกลาง ถึงรุนแรง และมีการแพร่กระจายเชื้อได้ ดังนั้นในวันนี้เราจะพาไป คำความเข้าใจและ วิธีป้องกันไวรัสโควิด 19 ให้มากยิ่งขึ้น

ไวรัสโควิด19“กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข” ได้เผยแพร่ วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด19 (โคโรน่า) ดังนี้

ไวรัสโควิด191. สวมหน้ากากอนามัย และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
2. ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู หรือต้นแขนด้านใน
3. หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำ และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
4. หลีกเลี่ยงการไปตลาดที่ขายซากสัตว์ป่าหรือที่มีชีวิต และการสัมผัสโดยไม่ใช้ถุงมือ
5. ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
6. รับประทานอาหารปรุงสุกร้อน หรือปรุงอาหารประเภทเนื้อสัตว์และไข่ให้สุกด้วยความร้อน

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

วิธีสังเกตอาการ (Covid-19)
หากได้รับเชื้อ ไวรัสโควิด19 ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 นั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมีไข้สูง > 37.5 องศา ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบเหนื่อย ถ่ายเหลวท้องเสีย หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ จะทำให้มีความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ ภายใน 14 วัน หลังเดินทางกลับจากต่างประเทศ หรือประเทศในกลุ่มเสี่ยง หากมีไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจ เหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางไปประเทศจีน

ล่าสุดทาง…ดร. อเดล แมคคอร์มิค นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ ในอังกฤษ ระบุว่า การป้องกันการได้รับเชื้อทำได้โดย “หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า, ปาก, จมูก และดวงตา” เนื่องจากมันอาจเป็นช่องทางที่ไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดการติดเชื้อได้ พร้อมแสดงวิธีการดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันคุณจากการติดเชื้อ ไวรัสโควิด19

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา ๑๘ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓

เนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้รายงานการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากเชื้อโรคโควิด-19 หรือ ไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus that was discovered in 2019) และมีการพบผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัสดังกล่าวในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย ประกอบกับองค์การอนามัยโลกได้ประกาศการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสนี้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) เพื่อให้รัฐบาลทั่วโลกเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมเชื้อไวรัสดังกล่าว จึงสมควรก าหนดให้เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเชื้อโรคที่ต้องควบคุมตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖ (๑) และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการเชื้อโรคและพิษจากสัตว์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

 

ไวรัสโควิด19

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในรหัสเชื้อโรค V2-0026 ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องรายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา ๑๘ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

ไวรัสโควิด19

ข้อ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นรหัส เชื้อโรค V-3-0135 ต่อจากรหัส เชื้อโรค V-2-0134 ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องรายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา ๑๘ พ.ศ. ๒๕๖๑

ไวรัสโควิด19

ข้อ๓ ให้ยกเลิกความในเงื่อนไขท้ายรายการเชื้อไวรัสตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา ๑๘ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เงื่อนไข ๓* หมายถึง เชื้อไวรัส กลุ่มที่ ๓ ที่มีเงื่อนไขของการปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

๑. กรณีตรวจวินิจฉัยโรคที่ไม่มีการเพาะเชื้อให้ดำเนินการในสถานปฏิบัติการระดับ ๒ โดยปฏิบัติตามหลักการ Good Microbiological Practice อย่างเคร่งครัด
๒. กรณีตรวจวินิจฉัยโรคด้วยวิธีทางชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecularbiology) ให้ดำเนินการได้ในสถานปฏิบัติการระดับ ๒ เสริมสมรรถนะ(biosafety level2enhanced: BSL-2 enhanced) ตามที่กำหนดในประกาศที่ออกตามมาตรา ๖ (๔) ยกเว้น Humanimmunodeficiency virus Human Tlymphotropic virus และ Rabies virus ให้ดำเนินการได้ตามข้อ๑
๓. กรณีที่มีการเพาะเชื้อให้ดำเนินการในสถานปฏิบัติการระดับ ๓ยกเว้น Human immunodeficiency virus และ Rabies virus ให้ดำเนินการได้ในสถานปฏิบัติการระดับ ๒ เสริมสมรรถนะ(biosafety level2 enhanced: BSL-2 enhanced) ตามที่กำหนดในประกาศที่ออกตามมาตรา ๖ (๔) ทั้งนี้ กรณีที่มีการเพาะเชื้อมากกว่า ๓๐ มิลลิลิตรต่อครั้งให้ดำเนินการในสถานปฏิบัติการระดับ๓
๔. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖3
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

facebook fanpage Golden Horse


ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.moneyguru.co.th/, https://www.cot.co.th/, กรมควบคุมโรค

#หวังว่าโลกนี้จะกลับมาเป็นโลกที่น่าอยู่อีกครั้ง

 

Comments

comments