รู้ทัน โรคกระเพาะ ดูแลได้ด้วยสมุนไพรตัวนี้
เมื่อได้ยินโรคนี้ โรคกระเพาะ คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะการดำเนินชีวิต ในแต่ละวันของคนเรานั้นเร่งรีบ ความเร่งรีบนี้ จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมาก และที่พบได้บ่อย คือ สภาวะที่กระเพาะอาหารเกิดแผล หรือส่วนของลำไส้เล็กส่วนต้น โดยทั่วไปมักพบกับผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร จะเกิดในวัยหนุ่มสาว ส่วนการเกิดแผลที่สำไส้เล็กส่วนต้นนั้น จะเกิดในวัยกลางคน อย่างไรก็ตามโรคกระเพาะ สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย
สาเหตุ ของการเกิดโรค เกิดจากกระเพาะอาหาร มีการหลั่งของกรดมากเกินไป รวมทั้งเยื่อบุ กระเพาะ อาหารและลำไส้มีความต้านทานลดน้อยลง ทำให้เกิดแผล และยังพบสาเหตุการเกิดโรคได้อีก เช่น การรับประทานอาหาร ที่ระคายเคือง พฤติกรรม การรับประทานอาหาร ที่เร่งรีบ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ดื่มสุรา-กาแฟ การสูบบุหรี่ ภาวะเครียด หรือการติดเชื้อที่ชื่อว่า Helicobactor Pylori หรือการยาที่ระคายเคือง กระเพาะอาหาร
อาการของผู้ที่เป็น โรคกระเพาะ
1.จุกเสียด หรือ จุกแน่นท้อง
2.มีอาการปวดแสบปวดร้อน บริเวณใต้ลิ้นปี่
3.หิวก็ปวดท้อง อิ่มก็ปวดท้อง
4.มีอาการปวดท้องตอนดึกๆ หรือ อาเจียนร่วมด้วย
5.มีลมมากในท้อง
ในบางผู้ป่วยบางรายอาจพบอาหารแทรกซ้อน เช่น มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ทำให้อาเจียนเป็นเลือดถ่ายเหลวสีดำ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ซึ่งเป็นผลมาจากโรคกระเพาะ เรื้อรัง
1. ขมิ้นชัน
คงเคยได้ยินกันมาบ้างนะค่ะว่า ขมิ้นชันสามารถ ช่วยรักษาโรค ที่เกิดจากระบบย่อยอาหาร ได้ นั่นก็เพราะว่าเหง้าขมิ้นมีน้ำมันหอมระเหย และมีสารสีเหลืองส้ม คือ เคอร์ควิมิน (Curcumin)
ซึ่งการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า ขมิ้นมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ขับน้ำดี และฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบได้ โดยที่ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะเกิดจากสาร curcumin ขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้เกิดการกระตุ้น การหลั่ง mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ
ส่วนฤทธิ์ ลดการอักเสบเกิดจาก สาร curcumin และน้ำมันหอมระเหย ทำให้ขมิ้น มีผลช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะได้ กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษาว่า ขมิ้นชันไม่มีพิษที่รุนแรง ทั้งในการใช้ระยะสั้นและระยะยาว
โดยปัจจุบัน มีการทำผลิตภัณฑ์ขมิ้นชัน ชนิดผงในรูป แคปซูล ซึ่งขนาดรับประทาน ครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เชื่อกันว่าสามารถช่วยรักษา โรคกระเพาะอาหารได้ สามารถดูข้อมูลดีๆ และติดตามให้กำลังใจได้ ที่นี่ คลิ๊ก
facebook fanpage Golden Horse
ขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู
ขมิ้นชันชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง วิธีปลูกใช้เหง้าหรือหัวอายุ10-12เดือนทำพันธุ์ ถ้าเป็นเหง้าควรยาวประมาณ8-12ซม.หรือมีตา6-7ตา ปลูกลงแปลง กลบดินหนาประมาณ5-10ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ30-70วันหลังปลูก ควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้
ฤดูกาลปลูก : ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
ฤดูการเก็บเกี่ยว : จะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท
เหง้าของขมิ้นชันมีรสฝาด กลิ่นหอม สามารถเก็บมาใช้เมื่อมีช่วงอายุ 9-10 เดือน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชันมีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง อาจช่วยรักษาโรค รูมาตอยด์ได้ ยังไม่ยืนยันแน่ชัด ในตำรายาจีนเรียกเจียวหวง (ภาษาจีนกลาง) หรือ เกียอึ้ง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยา แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน
เหง้าขมิ้นชันมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่าเคอร์คูมิน สารสกัดด้วยเอทานอลจากเหง้าสดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ ขมิ้นชันสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชันมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นชันไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง
อาหารที่ใช้ขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบได้แก่แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกอและ แกงฮังเล ข้าวแขก ข้าวหมกไก่ ขนมเบื้องญวน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของผงกะหรี่ ขมิ้นชันใช้ย้อมผ้าให้ได้สีเหลือง ถ้าใส่ใบหรือผลมะขามป้อมลงไปด้วยจะได้สีเขียว นอกจากนั้น ในการทำปูนแดง จะนำปูนขาวมาผสมกับขมิ้นชัน ในสมัยก่อนนิยมเอาผงขมิ้นชันทาตัวให้ผิวเหลือง รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้ทาศีรษะหลังโกนผม เพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการใช้มีดโกนโกนผม
ขมิ้นชัน เพิ่มภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลิน ชนิดจี และลดความไวต่อตัวกระตุ้น ช่วยขยายหลอดลม ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และเป็นสมุนไพรรักษาโรคภูมิแพ้
วิธีใช้ประโยชน์
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการแสบคัน แก้หิว และแก้กระหาย ทำโดยล้างขมิ้นชันให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้
ขอขอบคุณ
th.wikipedia.org