เสมหะ เรื่องเล็กแต่ไม่เล็ก 

0
593

 เสมหะ เรื่องเล็กแต่ไม่เล็ก 

   คงจะรู้สึกไม่ค่อยดีหากว่าทุกท่านมี เสมหะในคอตลอดเวลา อาการเรื้อรังที่ไม่ควรมองข้ามนะคะ ตามน้องรักสุขภาพมาดูกันเลย ว่าวิธีจัดการกับการมีเสมหะในคอ ควรทำอย่างไร

การมี เสมหะ อยู่ในลำคอนั้น เป็นอาการของร่างกายที่คัดหลั่งสารจากต่อมสร้างสารคัดหลั่ง ที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินหายใจ ซึ่งแน่นอนว่า เจ้าเสมหะนี้ สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ที่เป็นไม่น้อยเลย และผู้คนส่วนใหญ่ก็คิดว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่น่าจะเป็นอันตรายอะไร แต่รู้มั้ยค่ะว่า ถ้าลองสังเกตสีของ เสมหะ ที่แลดูไม่ปกติ รวมด้วยกับรูปแบบของอาการ อาจจะต้องรีบหาหมอโดยด่วน เพราะนั้นกำลังสื่อถึงความเสี่ยงที่จะเป็นโรคได้ มาลองสังเกตกันค่ะ ว่าอาการที่มีเสมหะมากนั้น สีของเสมหะบ่งบอกถึงอะไร และเป็นโรคอะไรบ้าง
มาดูวิธีเช็คสี ของเสมหะกันก่อนเลยค่ะ ว่าสีที่เห็นนั้น สะท้อนการติดเชื้อและโรคที่แอบแฝง รวมทั้งสิ่งเร้าที่มีผลต่อการเกิด เสมหะ
1.เสมหะสีขาวหรือสีเทา เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือไซนัส หรือได้สูดดมสาร เรซินหรือทาร์จากบุหรี่ และมลพิษจากควันต่างๆ ในอากาศ
2.เสมหะสีเขียวหรือสีเหลืองเข้ม เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
3.เสมหะสีน้ำตาล มักพบในผู้ที่สูบบุหรี่จัด
4.เสมหะสีชมพู เกิดจากโรคปอดบวม และอาจรวมถึงมีเลือดออกในระบบทางเดินหายใจ
5.เสมหะสีแดงเลือด คือสัญญาณเตือนโรคหลอดลมอักเสบ และอาจรวมถึง โรควัณโรค โรคมะเร็ง และโรคลิ่มเลือดอุดตันกั้นในปอด

เมื่อเราทราบแล้วว่าสีของเสมหะที่เกิดขึ้นนั้นมีเกิดจากอะไร
คราวนี้ เรามาดูโรคที่พบได้ เมื่อเรามีเสมหะมากผิดปกติ ได้แก่
1. โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้
2. โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้
3. โรคไซนัสอักเสบ
4. โรคหืด
5. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
6. ภาวะติดเชื้อเรื้อรังบริเวณคอ
7. โรคกรดไหลย้อน
8. โรคแพ้อาหาร

ทราบกันไปแล้วนะค่ะ ว่าสีของเสมหะ และโรคที่เกิดขึ้นได้นั้นมีอะไรกันบ้าง และสำหรับใครที่รู้สึกว่ามีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็ลองนำไปสังเกตและปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป

คลิปนี้ น้องรักสุขภาพจึงขอนำเสนอสมุนไพรใกล้ตัว ซึ่งว่ากันว่า มีสรรพคุณที่ช่วยขับเสมหะได้ดี ซึ่งสมุนไพรดังกล่าวมีด้วยกันหลายชนิดและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย สำหรับคลิปนี้น้องรักสุขภาพก็จะมายกตัวอย่าง สมุนไพรที่ช่วยขับเสมหะได้ดี เช่น

1.มะนาว มะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดอินทรีย์ มีรสเปรี้ยว ช่วยบรรเทาอาการอักเสบในลำคอ

เสมหะ2.มะขามป้อม รสเปรี้ยวของมะขามป้อมสามารถช่วยละลายเสมหะได้ ทั้งยังบำรุงเสียงให้ดีได้อีกด้วย3.ขิง มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งช่วยในการขับเสมหะได้

4.มะขามเปียก สาระสำคัญในมะขามคือ กรดทาร์ทาริก ที่ช่วยบรรเทาอาการไอ และแก้อักเสบ

เสมหะ5.มะแว้งเครือ ในผลจะมีสารลิกนิน (lignin) และซาโปนิน (Saponin) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนยาปฏิชีวนะช่วยระงับการอักเสบและละลายเสมหะได้ดี และอื่นๆอีกมากมาย

เสมหะตำรับยา เทวดาบอก อ้างอิงจาก หนังสือ 400 ตำรับยาเทวดาบอก มาฝากท่านผู้ชมกันนะค่ะ
สำหรับตำรับยาในครั้งนี้ เป็นตำรับยาที่ช่วยขับเสมหะ ได้ดีนักแล

ให้ใช้ 4 สิ่งนี้ เพื่อเป็นส่วนผสม
1.น้ำผึ้งเดือนห้า 300 มิลลิลิตร
2.มะขามเปียก 45 กรัม
3.มะขามป้อม 30 กรัม
4.น้ำตาลทรายแดง 45 กรัม

วิธีปรุงยา
เทน้ำผึ้งลงในกระทะ แล้วยกขึ้นตั้งไฟเพื่อเคี่ยวให้สุก จากนั้นใส่น้ำตาลทรายแดงลงไป กวนผสมให้เข้ากันดี ตามด้วยมะขามเปียก กวนให้เข้ากันแล้วตามด้วยมะขามป้อม กวนผสมกัน จากนั้นเคี่ยวไปจนเหนียวพอจะปั้นเป็นลูกกลอนได้ ยกจากเตา แล้วปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเมล็ดพุทราใช้รับประทานแก้ไอ ขับเสมหะ ใช้ได้ดีนักแล
ตำรับยานี้จารึกโดย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท

facebook fanpage Golden Horse

อาการที่ควรหลีกเลี่ยง

ผู้ที่มีเสมหะมาก เพื่อการกินสมุนไพรตามที่เราแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรงดการกินอาหารแสลงไปก่อนซึ่งได้แก่ อาหารประเภทหวานมันทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารทอดๆ ที่อมน้ำมันสูงยิ่งควรงดให้ได้เด็ดขาด นอกจากนี้ การใช้สมุนไพรในการบรรเทาโรคหรืออาการที่เราแนะนำไป

สรรพคุณของแต่ละชนิดอาจออกฤทธิ์กับสภาวะร่างกายผู้ป่วยในแต่ละรายแตกต่างกัน บางคนอาจจะดื่มน้ำอ้อยแล้วได้ผลดีในขณะที่อีกคนอาจจะไม่ได้ผล หรือบางคนอาจจะกินขี้เหล็กกับย่านางหรือกินมะแว้งแล้วได้ผลกว่า

ทั้งนี้ ก็ลองพยายามปรับเปลี่ยนเวียนใช้เมนูอาหารที่ใส่ผักสมุนไพรใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ร่างกายได้ค้นพบสมุนไพรที่เข้ากับการรักษาได้ตรงโรคกัน

อย่างน้อยการกินอาหารให้เป็นยา ย่อมดีกว่ากินยาจากทางการแพทย์แผนปัจจุบันจนร่างกายดื้อยา หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจนรักษาไม่หายขาดในที่สุด

ฉะนั้นแล้ว เพื่อให้สุขภาพร่างกายของเราได้รับคุณประโยชน์ของสมุนไพรในแต่ละชนิดอย่างได้ผลเต็มประสิทธิภาพ ลองกินแล้วสังเกตดูอาการไปเรื่อยๆ กันนะคะ เชื่อว่าอาการของคุณจะต้องทุเลาขึ้นบ้างไม่มากก็น้อยแน่นอน

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาตำรับบรรเทาอาการไอที่มีอยู่ในบัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2555 นั้น ก็มีข้อควรระวังบางประการ ได้แก่ ในตำรับที่มีมะขามป้อม เช่น ตำรับยาแก้ไอผสมกานพลู ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม ยาแก้ไอผสมมะนาวดอง ยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน ยาตรีผลา และ ยาอำมฤควาที มีข้อควรระวังอาการท้องเสีย ตำรับที่มีรากชะเอมเทศ เช่น ยาแก้ไอผสมกานพลู ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม ยาแก้ไอผสมมะนาวดอง ยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน และยาอำมฤควาที ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เนื่องจากการบริโภครากชะเอมเทศต่อเนื่องกันเป็นเวลานานอาจมีผลทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ และเพิ่มความดันโลหิตได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยตับแข็ง ผู้ป่วยที่ใช้ยา prednisolone ยาขับปัสสาวะ หรือยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine ควรระวังการใช้ยาที่มีรากชะเอมเทศประกอบอยู่ บางตำรับ เช่น ยาแก้ไอผสมกานพลู ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม ยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน มีส่วนประกอบของน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง ดังนั้น จึงควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำหนัก และบางตำรับ เช่น ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม ยาประสะมะแว้ง ยาอำมฤควาที นั้นมีส่วนผสมของเกลือแกง หรือมีการใช้น้ำมะนาวแทรกเกลือเป็นน้ำกระสายยา จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณเกลือในร่างกาย

สมุนไพรและตำรับยาสมุนไพรดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ออกฤทธิ์เพียงบรรเทาอาการไอ มิได้มีผลในการรักษาสาเหตุของการไอ ดังนั้น การกำจัดที่สาเหตุของอาการไอ โดยการรักษาโรคหรือพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุ หรือปรับพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการไอ จึงเป็นแนวทางในการรักษาอาการไอที่ดีที่สุด

ขอบขอบคุณข้อมูล

organicbook.com

health.kapook.com

pharmacy.mahidol.ac.th

Comments

comments