ลมพิษ โรคทางผิวหนัง ที่เกิดขึ้นกับ ทุกเพศทุกวัย โดยมี อาการผื่นคัน ตามผิวหนัง ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ก่อให้เกิดผื่นแดงเป็นก้อนๆ ตามแขน ขา ลำตัว หรือ ลุกลามไปทั้งตัว รู้สึกแสบร้อน สร้างความรำคาญและทุกข์ทรมานให้กับผู้ที่เป็นไม่น้อยเลย
ลมพิษ ใครได้เป็น ก็ปวดร้าว
วันนี้ น้องสุขภาพ จะพาทุกท่าน ไปรู้จักกับโรคลมพิษ ว่าเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร และวิธีการรักษา รวมทั้งตำรับยาโบราณ ที่สามารถช่วยรักษาโรคลมพิษได้
ลมพิษ คือ กลุ่มอาการที่เกิดจาก ผิวหนัง ได้รับสิ่งกระตุ้นให้เกิด อาการของโรคภูมิแพ้ภายในร่างกาย ซึ่งโรคลมพิษแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เฉียบพลัน และ เรื้อรัง
สาเหตุของ โรคลมพิษนั้น ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่หลักๆนั้น เกิดจากสภาวะที่ร่างกายปล่อยสาร “ฮีสตามีน” และสารอื่น ๆ เข้าสู่ กระแสเลือดเป็นจำนวนมาก และเกิดจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น ฝุ่นละออง อาหาร แสงแดด สารเคมีที่เป็นพิษต่างๆ และ ยาบางประเภทที่ รับประทานเข้าไป หรือแอลกอฮอล์
อาการที่สังเกตได้ชัดเมื่อเป็น โรคลมพิษ คือ มีผื่นนูนแดง และอาการคัน ที่หากเกาตรงไหน ก็จะเกิดผื่นแดงขึ้นบริเวณนั้นทันที หรืออาจมีไข้ร่วมด้วย อาการเหล่านี้จะทุเลาลงได้เมื่อเมื่อ ทานยาแก้แพ้ และจะหายไปภายในเวลา 24 ชั่วโมง แต่หากหลังจากนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นลมพิษที่ผิดปกติค่ะ
การรักษาอาการโรคลมพิษนั้นสามารถทำได้หลายวิธี มีตั้งแต่ การเลือกรับประทานยา ยาทาคาลาไมด์ และนอกจาก 2 วิธีที่กล่าวไปแล้วนั้น น้องรักสุขภาพก็ขอเสนอ สมุนไพรไทยที่อยู่ใกล้ตัวและหาได้ง่ายมาฝากกันค่ะ
1.ขมิ้น มีสรรพคุณช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการแพ้ ภายในร่างกายได้
2.ข่า จะช่วยลดอาการนูนของผิวหนังที่เป็นลมพิษไม่ให้ขยายใหญ่ขึ้นได้
3.ว่านหางจระเข้ มีฤทธิ์เย็น ช่วยปลอบประโลมผิวที่อักเสบ ลดความแสบคัน บวมแดงได้
4.ใบพลู มีสรรพคุณช่วยให้หายคันได้ไว และผื่นยุบเร็วขึ้น
ตำรับยา เทวดาบอก อ้างอิงจาก 400 ตำรับยาเทวดาบอก
ตำรับยารักษาโรคลมพิษ
ให้ใช้ 2 สิ่งนี้ เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยา
1.ข่าหรือใบพลู
2.เหล้าขาว 40 ดีกรี
วิธีปรุงยา
ให้นำข่าหรือใบพลูมาล้างให้สะอาดและ นำไปตำให้ละเอียด จากนั้น ผสมกับเหล้าขาว
วิธีใช้
ใช้ทาบริเวณที่มีลมพิษขึ้นทุกวัน และห้ามเกาโดยเด็ดขาด โรคลมพิษจะหายไป
ตำรับยานี้ บันทึกโดย พลอากาศเอก นักรบ บิณษรี
ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สารานุกรมเสรี
facebook fanpage Golden Horse
เหง้าของขมิ้นชันมีรสฝาด กลิ่นหอม สามารถเก็บมาใช้เมื่อมีช่วงอายุ 9-10 เดือน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชันมีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง อาจช่วยรักษาโรค รูมาตอยด์ได้ ยังไม่ยืนยันแน่ชัด ในตำรายาจีนเรียกเจียวหวง (ภาษาจีนกลาง) หรือ เกียอึ้ง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยา แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน
เหง้าขมิ้นชันมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่าเคอร์คูมิน สารสกัดด้วยเอทานอลจากเหง้าสดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ ขมิ้นชันสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชันมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นชันไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง
อาหารที่ใช้ขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบได้แก่แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกอและ แกงฮังเล ข้าวแขก ข้าวหมกไก่ ขนมเบื้องญวน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของผงกะหรี่ ขมิ้นชันใช้ย้อมผ้าให้ได้สีเหลือง ถ้าใส่ใบหรือผลมะขามป้อมลงไปด้วยจะได้สีเขียว นอกจากนั้น ในการทำปูนแดง จะนำปูนขาวมาผสมกับขมิ้นชัน ในสมัยก่อนนิยมเอาผงขมิ้นชันทาตัวให้ผิวเหลือง รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้ทาศีรษะหลังโกนผม เพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการใช้มีดโกนโกนผม
ขมิ้นชัน เพิ่มภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลิน ชนิดจี และลดความไวต่อตัวกระตุ้น ช่วยขยายหลอดลม ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และเป็นสมุนไพรรักษาโรคภูมิแพ้